แชร์

จำเป็นไหมต้องซื้อ พ.ร.บ. กับประกันรถยนต์ บริษัทเดียวกัน

อัพเดทล่าสุด: 15 ก.ค. 2024
10569 ผู้เข้าชม
จำเป็นไหมต้องซื้อ พ.ร.บ. กับประกันรถยนต์ บริษัทเดียวกัน
"ประกันภัยรถยนต์" นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถยนต์ เนื่องจากอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ตลอดเวลา แม้เราจะไม่ได้เป็นผู้ประมาท ก็จะมีคนที่ใช้รถบนท้องถนนอีกมากมายที่ เราไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมการขับขี่ที่ประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรได้

โดยประกันภัยรถยนต์นั้น จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ ประกันภัยภาคบังคับ  และประกันภัยภาคสมัครใจ

     ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ ที่เราเรียกกันสั้นๆว่า "พ.ร.บ." มาจากคำว่า "พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ" ซึ่งถูกตราเป็นกฎหมายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง และแก้ไขรายละเอียดมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน โดยหลักคือ พระราชบัญญัติฉบับนี้จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายอันมีสาเหตุมาจากรถยนต์ เช่น คนเดินถนน หรือคนที่ใช้รถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารภายในรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองทั้งหมด แม้จะทราบ หรือไม่ทราบผู้ก่อเหตุเป็นใคร ผู้เสียหายก็ยังจะได้รับความคุ้มครอง >>พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง ?<<

พ.ร.บ. จึงมีความสำคัญ และมีประโยชน์มาก เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประสบเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่มากนัก อย่างน้อยก็อุ่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้น จึงมีการบังคับโดยกฎหมาย ให้ยานพานะทางบกทุกคันบนท้องถนนจะต้องมี พ.ร.บ. ทุกคัน มิฉะนั้นจะต้องถูกจับปรับเป็นหมื่น

     การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หมายความถึง การเอาประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด หลัก ๆ เพื่อเป็นการคุ้มครองที่เพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. และ ให้ความคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สิน

สำหรับการซื้อ พ.ร.บ. กับ ประกันภัยภาคสมัครใจแยกคนละบริษัทกัน กล่าวคือซื้อประกัน พ.ร.บ. บริษัทหนึ่ง และไปซื้อประกันประเภทสมัครใจ (ประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 5 (2+, 3+) หรือ ประเภท 3) หากแยกซื้อกันคนละบริษัท อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ดังนี้

  1. การโทรแจ้งเหตุ
    ขณะเกิด อุบัติเหตุ หากเราซื้อ พ.ร.บ. และประกันภาคสมัครใจ ไว้คนละบริษัทฯ กัน เราจะต้องโทรแจ้งทั้ง 2 บริษัทฯ ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยาก และล่าช้าได้
  2. การยื่นเอกสารเบิกเคลม
    ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการบริการที่ต่างกัน จึงทำให้การยื่นเอกสารต่างๆ ตลอดจนการได้รับค่าชดเชยล่าช้า เนื่องจากขั้นตอนการดำเนินการของบริษัทฯ ที่แตกตั้งนั้นเอง
  3. การประสานงานระหว่างบริษัท ฯ
    ความล่าช้าอาจเกิดจากการประสานงานกันระหว่าง บริษัทฯ อาจส่งผลให้ได้รับเงินชดเชย และค่ารักษาพยาบาล

     การซื้อ พ.ร.บ. กับประกันภัยประเภทสมัครใจ ไว้บริษัทเดียวกัน ทำให้ลดขั้นตอนการประสานงานระหว่างบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้ได้รับเงินชดเชย และค่ารักษาพยาบาลเร็วกว่าหลายเท่า และดีกว่าการซื้อแยกบริษัทฯ กันแน่นอน โดย ซี พี อินเตอร์ ขอแนะนำให้เลือกบริษัทที่มีความมั่นคง และบริการดี จะทำให้เราไม่ต้องยุ่งยากกับการเคลมสินไหม

     นอกจากนี้ ยังมีข้อดีของการทำประกันภัยทั้ง 2 แบบ ควบคู่กันไป คือ ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. จะคุ้มครองช่วยเหลือในกรณีที่มีการบาดเจ็บ และเสียชีวิต ซึ่งในบางครั้งวงเงินความคุ้มครองที่ได้รับจาก พ.ร.บ. นั้น อาจไม่เพียงพอ ในการเจรจาต่อรองกับคู่กรณี ในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีของคุณได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะได้มีวงเงินจากภาคสมัครใจเข้ามาทำหน้าที่ในส่วนที่เกินให้

เมื่อรถยนต์เกิดเหตุ ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป ซี พี อินเตอร์ พร้อมให้คำปรึกษา และแนะนำสิ่งดีๆ ให้สำหรับคุณเสมอ ติดต่อได้เลย..
  02-710-9129
  @cpinterbroker
  inbox.facebook/cpinterbroker

บทความที่เกี่ยวข้อง
different of car insurance 1
ผู้ใช้รถบางคนอาจจะพอรู้แล้วว่า ประกันรถยนต์แต่ละประเภท แต่ละชั้น แตกต่างกัน และก็มีบางคนที่ยังไม่รู้ วันนี้เราจะมาสรุปแบบให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้...
8 พ.ย. 2024
5 เทคนิคขับรถหน้าฝนให้ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุ
ในวันที่ฝนตกหนักแบบนี้ เพื่อลดอุบัติเหตุวันนี้ C P Inter จะขอนำเสนอ 5 เทคนิคขับรถหน้าฝนให้ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุได้กันครับ
15 ก.ค. 2024
ประกันการเดินทางคุ้มครองอะไรบ้าง เริ่มคุ้มครองเมื่่อไหร่ ?
การทำประกันภัยการเดินทาง เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่วางแผนไปเทื่ยว หรือไปดูงานที่ต่างประเทศ หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน
15 ก.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy