อัพเดทล่าสุด: 28 ส.ค. 2024
125 ผู้เข้าชม
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร ?
- เป็นโรคที่ติดเชื้อจากไวรัส Orthopoxvirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษ
- มี 2 สายพันธุ์
- สายพันธุ์ Clade1 Central African เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดในปี 2024 มีอาการรุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตที่ 10%
- สายพันธุ์ Clade2 West African เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดช่วงปี 2022 อาการจะไม่รุนแรง อัตราเสียชีวิตน้อยกว่า
ติดต่อได้ทางไหน
- ผ่านสารคัดหลั่ง หรือ ละอองฝอยขนาดใหญ่ จากผู้ที่ติดเชื้อ เช่น การไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย
- การสัมผัสโดยตรงกับตุ่ม หรือฝี โดยตรง รวมถึงการสัมผัสกับสิ่งของต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า เครืองใช้ต่างๆ
อาการของโรคฝีดาษลิง ที่ต้องเฝ้าระวังอาการ
- ระยะเริ่มต้น วันที่ 0-5: มีไข้ ปวดเมื่อยตัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองอาจโตได้ หรืออาจมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป สามารถแพร่เชื้อได้แล้ว ผ่านระบบทางเดินหายใจ
- ระยะมีผื่น หลังจากวันที่ 6 ถึง สัปดาห์ที่ 3: ผื่นจะเริ่มขึ้นจากบริเวณใบหน้า และกระจายไปทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณ ใบหน้าและฝ่ามือฝ่าเท้า ผื่นจะเปลี่ยนจากผื่นแดงเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง
- หลักจาก 2-4 สัปดาห์: ผื่น และตุ่มหนอง จะค่อยๆ หาย และหลังจากตกสะเก็ด ก็จะไม่แพร่เชื้อแล้ว
ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร้อง อาจเกิดการติดเชื้อ สู่ปวด หรือสมองได้
การรักษาโรคฝีดาษลิง
- ปัจจุบันยังไม่มีตัวยาต้านไวรัสเฉพาะเจาะจงสำหรับรักษาโรคฝีดาษลิง
- เป็นโรคที่สามารถหายเองได้ ภายใน 4 สัปดาห์
- สำหรับผู้มีอาการรุนแรง แพทย์อาจให้ยาต้นไวรัส
ป้องกันตัวเองจากโรคฝีดาษลิง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด กับผู้ป่วยและสัตว์ป่า
- สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยง
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ
- ฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ สามารถรับการฉีดได้ที่ สถานเสาวภา และสภากาชาดไทย
ข้อควรทราบเพิ่มเติม
- วัคซีน: ควรฉีดภายใน 4 วันหลังสัมผัสผู้ป่วย แต่ไม่เกิน 14 วัน
- คนไทยที่เกิดก่อน พ.ศ. 2523 ที่เคยได้รับการปลูกฝีดาษ อาจมีภูมิคุ้มกันโรคฝีดาษลิงได้
โรคฝีดาษลิง ระบาดต่อเนื่องมาหลายปีแล้วในแอฟริกา แต่ผู้ป่วยทั่วโลกยังไม่มากนัก และอาการส่วยใหญ่ไม่รุนแรง หลังมีข้อมูลผู้ป่วยทั่วโลกสูงขึ้น และพบผู้ติดเชื้อในไทยแล้ว เราจึงต้องศึกษาวิธีป้องกันตัวเอง และทำคความเข้าใจโรคนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และหากสงสัยว่าตนเองติดเชื้อ ควรรีบปรึกษาแพทย์
ติดตามข่าวสาร: ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
**หมายเหตุ: ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง