ค่าห้องในการเข้าพักรักษาตัวเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยในโรงพยาบาลถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะค่าห้อง ค่ายา ของโรงพยาบาลแต่ละที่มีราคาที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาลรัฐบาล หรือโรงพยาบาลเอกชน หากพักรักษาตัวในโรงพยาบาลรัฐแล้วอยากพักห้องที่ดีขึ้นมาหน่อยก็ต้องเพิ่มเงินเป็นห้องพิเศษ ซึ่งอาจเป็นเรื่องกังวลใจของคนที่เงินไม่พอ จะเลือกโรงพยาบาลไหนดีให้พอกับเงินที่มี บางคนเมื่อถึงยามฉุกเฉินต้องเข้าโรงพยาบาลถึงกับต้องกู้เงินเพื่อมาจ่ายค่าห้อง ค่ารักษาเลยทีเดียว
แต่สำหรับคนที่ทำงานบริษัทฯ ที่มีสวัสดิการให้พนักงานสำหรับค่าห้องโรงพยาบาล ก็อาจจะโชคดีหน่อย เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ แต่ถ้าหากใครไม่มีก็สามารถเช็กสิทธิ์ประกันสังคมของตนเองได้ว่าอยู่โรงพยาบาลไหน โดยสามารถตรวจสอบสิทธิ์ตอนยื่นประกันสังคมออนไลน์ได้ เพื่อได้เลือกไปแอดมิทโรงพยาบาลตามสิทธิ์ของตนเอง
การนอนโรงพยาบาล 1 คืนมีค่าใช้จ่ายจิปาถะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง ค่าการบริการการรักษา และค่าอาหารระหว่างพักฟื้น ซี พี อินเตอ์ จะพาทุกคนมาเช็กค่าห้องโรงพยาบาล ปี 2567 ฉบับอัปเดตกันว่าโรงพยาบาลไหนมีค่าห้องโรงพยาบาลเท่าไหร่กันบ้าง
ค่าห้องโรงพยาบาลอัปเดตล่าสุด 2567
นอนโรงพยาบาล อย่างน้อยต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่?
ค่าห้องโรงพยาบาลอัปเดตล่าสุด 2567
โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ | ห้องพักมาตรฐาน | ห้องพักราคาสูงสุด | ห้อง ICU |
1.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ | 14,725 บาท | 75,420 บาท | 24,500 บาท |
2.โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน | 5,900 บาท | 9,000 บาท | 8,300 บาท |
3.โรงพยาบาลกรุงเทพ | 11,300 บาท | 22,500 บาท | 18,500 บาท |
4.โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ | 6,850 บาท | 13,050 บาท | 11,250 บาท |
5.โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค | 7,500 บาท | 10,500 บาท | 7,400-6,800 บาท |
5.โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น | 6,500 บาท | 10,600 บาท | 10,000 บาท |
5.โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ | 7,180 บาท | 8,280 บาท | 11,400 บาท |
5.โรงพยาบาลเมดพาร์ค | 11,000 บาท | 122,000 บาท | - |
5.โรงพยาบาลบีเอ็นเอช | 10,550 บาท | 30,950 บาท | - |
5.โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล | 5,900 บาท | 13,500 บาท | - |
5.โรงพยาบาลพญาไท 1 | 6,345 บาท* | 13,045 บาท* | 7,500-9,000 บาท* |
5.โรงพยาบาลพญาไท 2 | 7,893 บาท* | 22,625 บาท* | 8,300 บาท* |
5.โรงพยาบาลพญาไท 3 | 6,400 บาท* | 23,200 บาท* | 7,800 บาท* |
5.โรงพยาบาลพระราม 9 | 10,000 บาท | 36,000 บาท | - |
5.โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 | 6,530 บาท | 8,500 บาท | 7,090 บาท |
5.โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ | 4,900 บาท | 8,100 บาท | 6,200 บาท |
5.โรงพยาบาลคามิลเลียน | 4,400 บาท | 5,300 บาท | 6,280 บาท |
5.โรงพยาบาลหัวเฉียว | 4,200 บาท | 10,500 บาท | 6,500 บาท |
5.โรงพยาบาลธนบุรี | 5,620 บาท | 17,230 บาท | 3,600-3,900 บาท |
5.โรงพยาบาลปิยะเวท | 6,170 บาท | 17,350 บาท | - |
5.โรงพยาบาลเวชธานี | 7,600-7,800 บาท | 22,700 บาท | - |
5.โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา | 3,000 บาท | 18,500 บาท | 7,140 บาท |
5.โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ | 5,100 บาท | 20,000 บาท | - |
5.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | 600 บาท | 12,000 บาท | - |
5.โรงพยาบาลกลาง | 3,000 บาท | 4,000 บาท | - |
5.โรงพยาบาลศิริราช | 1,000 บาท | 3,000 บาท | - |
5.โรงพยาบาลรามาธิบดี | 5,850 บาท | 7,650 บาท | 6,050 บาท |
(รวมค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการ) / *ไม่รวมค่าอาหาร
นอนโรงพยาบาล อย่างน้อยต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่ ? รับมือยังไงดี ?
ค่าห้อง ค่ายา และค่าอาหาร ขณะพักรักษาที่โรงพยาบาลเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในยามเจ็บป่วย การเช็กค่าห้อง และค่ารักษาก่อนที่จะเข้าแอดมิทเป็นเรื่องที่ดี เพราะโรงพยาบาลแต่ละที่ก็มีราคาแตกต่างกันไป ส่วนมากราคาเริ่มต้นของห้องพักในโรงพยาบาลเอกชนอยู่ที่ราคา 3,000 บาท ถ้าหากมีสิทธิ์ประกันสังคมก็สามารถใช้สิทธิ์ได้ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด แต่หากในกรณีฉุกเฉิน เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด สำหรับคนที่ไม่ได้มีประกันสังคม หรือต้องการรักษาที่โรงพยาบาลดี ๆ ไม่เพียงพอกับการจ่ายค่าห้องในการนอนโรงพยาบาล จนทำให้เกิดปัญหาการเงินสะดุดได้ ดังนั้นการที่มีประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ ไว้สักฉบับคงอุ่นใจกว่า ทำให้สบายใจหายห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย หากต้องนอนโรงพยาบาล และค่ารักษาพยาบาลได้เลย