พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง ? รู้ไว้เผื่อยามฉุกเฉิน
พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง? รู้ไว้ เผื่อยามฉุกเฉิน
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ 'รถทุกคัน' ต้องมีไว้ เพื่อคุ้มครอง คนทุกคน และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถยนต์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ไม่คุ้มครองทรัพย์สินใด ๆ ทั้งสิ้น
พ.ร.บ. แบ่งความคุ้มครองเป็น 2 กรณี ดังนี้
- จำนวนเงินค่าเสียหายเบี้องต้น คือ ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่จะได้รับทันที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
- จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด คือ ค่าเสียส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้เป็นฝ่ายผิด)
ความคุ้มครอง |
วงเงินความคุ้มครอง |
---|---|
ค่าเสียหายเบื้องต้น | |
1. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริงไม่เกิน) |
สูงสุด 30,000 |
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | สูงสุด 35,000 |
3. ได้รับบาดเจ็บ แต่ต่อมาเสียชีวิต (รวม ข้อ 1. และ ข้อ 2. ไม่เกิน) | สูงสุด 65,000 |
ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น (สำหรับผู้ประสบภัย) | |
1. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ | สูงสุด 50,000 |
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | สูงสุด 435,000 |
3. ค่าชดเชยรายวัน (ตามความเป็นจริงไม่เกิน 20 วัน) | วันละ 200 |
หมายเหตุ: หากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
สำหรับผู้เสียหาย หรือผู้ประสบภัย (กรณีทราบผลเป็นฝ่ายถูก)
จะได้รับค่าเสียหาย ค่าเสียหายเบื้องต้น รวมกับ ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล กรณีได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน (จ่ายตามจริงไม่เกิน)
- ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 500,000 บาทต่อคน (จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล ในกรณีเสียชีวิตภายหลัง)
- กรณีสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ จำนวนเงิน 200,000 - 300,000 บาท ต่อคน
- นิ้วขาด 1 ข้อ ขึ้นไป 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 500,000 บาท
- ค่าชดเชยรายได้ต่อวัน 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท (กรณีรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ในฐานะผู้ป่วยใน)
เบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. จะขึ้นอยู่กับประเภทของรถ และขนาดเครื่องยนต์ รวมถึงลักษณะการใช้งานของรถยนต์
การทำ พ.ร.บ. มีข้อดีดังนี้
- ช่วยให้ผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุได้รับค่าชดเชย จากอุบัติเหตุบนท้องถนน
- ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
- ช่วยให้ผู้เอาประกันภัยมีความสบายใจ ในการขับขี่รถบนท้องถนน
อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. มีวงเงินคุ้มครองที่จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงควรซื้อประกันภัยภาคสมัครใจ หรือประกันรถยนต์ เพิ่มเติม เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น ความคุ้มครองทรัพย์สิน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะเคลมค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ได้อย่างไรบ้าง?
หลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ก็ให้เข้ารีบเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใกล้ตัวโดยเร็วที่สุด หรือหากบาดเจ็บหนักก็ให้รถฉุกเฉินนำไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หลังจากนั้น ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของทางโรงพยาบาลว่าเรามี พ.ร.บ. รถยนต์ โดยแจ้งเหตุการณ์เบื้องต้น เช่น เกิดที่ไหน เมื่อไหร่ โดยต้องแจ้งภายใน 180 วัน หรือจะให้ #ซี พี อินเตอร์ ช่วยประสานงานเคลมก็ได้เช่นกัน
สรุปก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นมีติดรถไว้ยังไงก็อุ่นใจกว่า แต่ทั้งนี้ต้องพึงระวังไว้ว่า พ.ร.บ. จะไม่ให้ความคุ้มครองเรื่องค่าซ่อมรถยนต์ รวมถึงความเสียหายทางทรัพย์สิน ดังนั้น นอกจากต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (เช่น ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 3 หรือ ประกัน 2+ และ 3+) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีติดรถไว้ด้วย หากต้องการคำปรึกษาการเคลม พ.ร.บ. หรือเช็คเบี้ยประกันภัย ทักไลน์ @cpinterbroker