พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ 'รถทุกคัน' ต้องมีไว้ เพื่อคุ้มครอง คนทุกคน และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถยนต์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ไม่คุ้มครองทรัพย์สินใด ๆ ทั้งสิ้น
พ.ร.บ. แบ่งความคุ้มครองเป็น 2 กรณี ดังนี้
ความคุ้มครอง | วงเงินความคุ้มครอง |
---|---|
ค่าเสียหายเบื้องต้น | |
1. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริงไม่เกิน) | สูงสุด 30,000 |
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | สูงสุด 35,000 |
3. ได้รับบาดเจ็บ แต่ต่อมาเสียชีวิต (รวม ข้อ 1. และ ข้อ 2. ไม่เกิน) | สูงสุด 65,000 |
ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น (สำหรับผู้ประสบภัย) | |
1. ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ | สูงสุด 50,000 |
2. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | สูงสุด 435,000 |
3. ค่าชดเชยรายวัน (ตามความเป็นจริงไม่เกิน 20 วัน) | วันละ 200 |
หมายเหตุ: หากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
สำหรับผู้เสียหาย หรือผู้ประสบภัย (กรณีทราบผลเป็นฝ่ายถูก)
จะได้รับค่าเสียหาย ค่าเสียหายเบื้องต้น รวมกับ ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น
เบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. จะขึ้นอยู่กับประเภทของรถ และขนาดเครื่องยนต์ รวมถึงลักษณะการใช้งานของรถยนต์
การทำ พ.ร.บ. มีข้อดีดังนี้
อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. มีวงเงินคุ้มครองที่จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงควรซื้อประกันภัยภาคสมัครใจ หรือประกันรถยนต์ เพิ่มเติม เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น ความคุ้มครองทรัพย์สิน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะเคลมค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ได้อย่างไรบ้าง?
หลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ก็ให้เข้ารีบเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใกล้ตัวโดยเร็วที่สุด หรือหากบาดเจ็บหนักก็ให้รถฉุกเฉินนำไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หลังจากนั้น ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของทางโรงพยาบาลว่าเรามี พ.ร.บ. รถยนต์ โดยแจ้งเหตุการณ์เบื้องต้น เช่น เกิดที่ไหน เมื่อไหร่ โดยต้องแจ้งภายใน 180 วัน หรือจะให้ #ซี พี อินเตอร์ ช่วยประสานงานเคลมก็ได้เช่นกัน
สรุปก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นมีติดรถไว้ยังไงก็อุ่นใจกว่า แต่ทั้งนี้ต้องพึงระวังไว้ว่า พ.ร.บ. จะไม่ให้ความคุ้มครองเรื่องค่าซ่อมรถยนต์ รวมถึงความเสียหายทางทรัพย์สิน ดังนั้น นอกจากต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (เช่น ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 3 หรือ ประกัน 2+ และ 3+) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีติดรถไว้ด้วย หากต้องการคำปรึกษาการเคลม พ.ร.บ. ทักหาเรา คลิ๊ก! หรือเช็คเบี้ยประกันภัย ทักไลน์ @cpinterbroker