แชร์

สรุปมาตรการช่วยเหลือผู้เอาประกัน "สินมั่นคง" แบบเข้าใจง่ายๆ

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.ค. 2024
170 ผู้เข้าชม
smk-close-down

สรุปมาตรการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย กรณีบริษัทสินมั่นคงประกันภัยถูกสั่งปิดกิจการ

     สืบเนื่องจากกรณีที่ คปภ.มีคำสั่งที่ 1364/2567 ให้ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ให้มีผลบังคับลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 โดยทางสำนักงาน คปภ. สมาคมประกันวินาศภัยไทย และกองทุนประกันวินาศภัย ได้ร่วมจัดแถลงข่าวการดำเนินการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้มีประกันไว้ดังนี้

มาตรการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกันภัย โดย สำนักงาน คปภ.

  • ให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้ชำระสินไหมทดแทนค้างจ่าย แทน บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    • กรณี โควิด 19 จำนวน 30,124.47 ล้านบาท
    • สินไหมทดแทนค้างจ่ายอื่น ๆ (Non-Covid 19) จำนวน 2,060.36 ล้านบาท
  • จัดเตรียมช่องทางการติดต่อ และประชาสัมพันธ์
    • เตรียมเจ้าหน้าที่สายด่วน คปภ. 1186 เพิ่มช่องทางพิเศษกดหมายเลข 8 เพื่อรับปรึกษา กรณีบริษัท สินมั่นคง โดยเฉพาะ
    • จัดทำระบบตอบคำถามอัตโนมัติ ตอบคำถามที่สอบถามเข้ามาบ่อย ๆ 
      • เช่น เอกสารที่ต้องใช้ในการขอรับค่าสินไหมทดแทน
    • เพิ่มช่องทางสื่อสารผ่าน LINE "คปภ. รอบรู้" เพื่อให้ข้อมูล และตอบคำถามในรูปแบบ infographic
    • จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจ
    • จัดตั้งศูนย์ให้คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกในการคีย์ข้อมูลขอรับชำระหนี้ ที่สำนักงาน คปภ. ภาค/จังหวัด ทั่วประเทศ

มาตรการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย โดย สมาคมประกันวินาศภัยไทย

  1. สามารถติดต่อขอซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ กับบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการ
    • โดยวันเริ่มต้นความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดของกรมธรรม์ฉบับเดิม
    • เบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ จะคำนวณจากระยะเวลาความคุ้มครอง 1 ปี
    • สามารถหักค่าเบี้ยประกัน กับกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิม ในส่วนที่มีสิทธิได้รับคืนตามระยะเวลาที่เหลืออยู่
      • เช่น ต้องการชื้อประกันภัยรถยนต์กับบริษัทฯ ที่เข้าร่วมโครงการ เบี้ยประกันภัยฉบับใหม่ 10,000 บาท หากคำนวณเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิมตามระยะเวลา มีเบี้ยประกันภัยคงเหลือ 4,000 บาท ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทประกันฯ ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ 6,000 บาท
  2. บริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ
    1. กรุงเทพประกันภัย
    2. กรุงไทยพานิชประกันภัย (KPI)
    3. ทิพยประกันภัย
    4. ธนชาตประกันภัย
    5. นวกิจประกันภัย
    6. ประกันภัยไทยวิวัฒน์
    7. มิตรแท้ประกันภัย
    8. วิริยะประกันภัย
    9. ERGO ประกันภัย (ประเทศไทย) 

  3. การชดใช้สินไหมทดแทน
    • กรณีที่ 1
      รถของผู้เอาประกันภัย กับบริษัท สินมั่นคงฯ เป็นฝ่ายผิด
      • ให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถฝ่ายถูก ดำเนินการจัดซ่อมรถตนเอง และไม่ฟ้องไล่เบี้ยผู้เอาประกันภัย แต่จะไปยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทุนฯ แทน
    • กรณีที่ 2
      รถของผู้เอาประกันภัย กับบริษัท สินมั่นคงฯ เป็นฝ่ายถูก
      • ให้บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถฝ่ายผิด ดำเนินการจัดซ่อม หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยของบริษัท สินมั่นคงฯ ที่เป็นฝ่ายถูก

มาตรการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย โดย กองทุนประกันวินาศภัย

  • จดทะเบียนเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท สินมั่นคงฯ
  • ภายใน 30 วัน นับแต่แต่งตั้งเป็นผู้ชำระบัญชี กองทุนฯ จะประกาศลงในหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ติดต่อกัน 3 วัน
  • ส่งไปรษณีย์ ถึงบรรดาเจ้าหนี้ (ผู้เอาประกัน บริษัท สินมั่นคงฯ) เพื่อแจ้งบอกเลิกกรมธรรม์ และแจ้งให้ยื่นคำทวงหนี้ โดยจะบอกเลิกกรมธรรม์ และสิ้นสุดความคุ้มครอง ภายในวันที่ 8 กันยายน 2567
  • เปิดให้ยื่นคำทวงหนี้ผ่านระบบ Online ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน - วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 รวมระยะเวลายื่นคำทวงหนี้ 60 วัน

หมายเหตุ: การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันวินาศภัยอื่นๆ

สามารถติดต่อสอบถามได้ที่กองทุนประกันวินาศภัย หรือสำนักงาน คปภ. (www.oic.or.th) สายด่วน คปภ. 1186 หรือผ่านช่องทาง LINE คปภ.รอบรู้

หรือ ง่ายกว่านั้น ปรึกษาเรา  ทักเลย  ซี พี อินเตอร์ พร้อมช่วยเหลือ และจัดหาประกันภัยใหม่ให้  โทร 02-710-9129

 

 แหล่งข้อมูล:
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (www.oic.or.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง
รถบรรทุกขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนดโดนปรับเท่าไหร่
ระวังไว้ สำหรับรถบรรทุก และรถโดยสาร หากขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น จะมีความผิดตามกฎหมาย และจะถูกโทษปรับ ดังนี้...
2 ก.ค. 2024
ซื้อประกันรถยนต์ ผ่อนเงินสดได้ ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
ซื้อประกันรถยนต์ กับ ซี พี อินเตอร์ โบรคเกอร์ ก็สามารถผ่อนเงินสด ง่ายๆได้แล้ว ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต ไม่มีดอกเบี้ย ผ่อนได้กับประกันรถยนต์ทุกประเภท
15 ก.ค. 2024
ขนส่งฯประกาศรถบรรทุกต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง-ท้าย
ขนส่งฯประกาศ กำหนดให้รถบรรทุกต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง (LPD) และด้านท้าย (RUPD) เริ่มบังคับใช้กับรถบรรทุกที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567
15 ก.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy